2554-01-06

Key word of " KM "


Hi!! นี้ ก็เป็นอีกความรู้ที่นำมาฝากน่ะค่ะ เป็น Keyword of KM ลองศึกษากันดู อาจจะงงนิดๆ แต่ก็ยังพอเข้าใจได้ น่ะค่ะ 


การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านองค์ความรู้ (Knowledge Strategy)

การวางแผนจัดการด้านองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้นั้น ไม่ต่างจากการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy) กล่าวคือ ผู้บริหารองค์กรและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องทราบให้แน่ชัดว่ากำลังจะนำศาสตร์ด้าน KM มาใช้เพื่อสร้างประโยชน์ในลักษณะใดต่อองค์กร โดยจะต้องทราบอย่างแน่ชัดว่าจะใช้งานและบริหารจัดการองค์ความรู้เหล่านั้นในลักษณะใดโดยให้อยู่บนพื้น

ฐานที่ว่าการลงทุนที่เกิดขึ้นกับระบบ KM ต้องสร้างประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรของตน ในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย หากจะเริ่มต้นวางแผนออกแบบกลยุทธ์การจัดการองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจจะต้องว่าจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาเพื่อออกแบบระบบที่มีความสอดคล้องกับการกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ นอกนั้นจะต้องตระหนักว่า แม้จะมีการออกแบบกลยุทธ์ในการจัดการองค์ความรู้ไปแล้ว กลยุทธ์ดังกล่าวก็ควรจะได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นประจำว่ายังมีประสิทธิภาพและเข้ากันได้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การแข่งขันอยู่เสมอ


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)

ในสมัยก่อน รูปแบบของการแบ่งปันความรู้แก่กันถูกจำกัดอยู่ในวงแคบๆ พ่อแม่สอนการบ้านลูก ครูสอนหนังสือนักเรียน เพื่อนติวหนังสือให้เพื่อน หรือกว้างออกมาหน่อยก็คือนักเขียนเขียนหนังสือขายให้คนอ่านการแบ่งปันความรู้ส่วนใหญ่เป็นแบบทางเดียว พ่อแม่สอนการบ้านลูก แต่ลูกไม่ได้สอนอะไรให้พ่อแม่ ครูสอนหนังสือนักเรียน แต่นักเรียนไม่ได้สอนหนังสือให้ครู นักเขียนเขียนให้อ่าน แต่คนอ่านก็ไม่ได้แบ่งปันอะไรกลับมาให้นักเขียน แต่ก็มีบ้างที่เป็นการแบ่งปันแบบหลายทาง เช่น เพื่อนติวหนังสือให้เพื่อน เพื่อนคนนึงอาจจะเป็นคนนำในการติว และเพื่อนอีกคนก็อาจจะถามคำถามที่ตัวเองสงสัยขึ้นมา ซึ่งเพื่อนที่เป็นคนติวอาจจะตอบไม่ได้ แต่ก็อาจจะมีเพื่อนคนอื่นๆ ที่ช่วยตอบให้ได้                                                 หรือการเรียนการสอนในห้องเรียนสมัยใหม่ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ครูอาจจะไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่เอาแต่เขียนกระดานหรือปิ้งแผ่นใส แต่ครูเป็นเสมือน Facilitator ที่คอยกระตุ้นให้นักเรียนถ่ายทอดความรู้ของตัวเองให้เพื่อนๆ ฟัง โดยครูเป็นแค่คนคอยไกด์ให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องอย่างไรก็ตาม การแบ่งปันความรู้แบบหลายทางก็ยังจำกัดอยู่แค่ในวงแคบๆ เท่านั้น ภายในกลุ่มเพื่อนไม่กี่คนหรือในห้องเรียนเล็กๆ เพราะถ้าคนเยอะขึ้นเมื่อไรก็จะเกิดความโกลาหลขึ้นทันที ต่างคนต่างพูดจนไม่รู้จะฟังใคร หรือมีเวลาจำกัดที่ให้พูดกันทุกคนไม่ได้ ไม่เช่นนั้นไม่จบเรื่องปัจจุบันถ้าคุณอยากแบ่งปันความรู้ คุณก็แค่เขียนบล็อก และเปิดให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ ซึ่งก็จะช่วยเสริมความรู้ที่คุณนำเสนอให้มีความแข็งแรงมากขึ้น 

แต่นอกจากบล็อกแล้วก็ยังมีรูปแบบการแบ่งปันความรู้แบบหลายทางอื่นๆ อีก เช่น Wikipedia บริการจาก Yahoo ที่ออกแนวเว็บบอร์ด คือให้คนตั้งคำถามได้ และเปิดให้คนอื่นมาตอบคำถาม ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่พยายามหาคำตอบจากแหล่งต่างๆ แล้วไม่พบ หรือไม่ชอบการค้นหาคำตอบด้วยตัวเองแต่ยินดีรอให้คนอื่นมาตอบให้ ซึ่งแตกต่างออกไปจากเว็บบอร์ดทั่วๆ ไปก็คือระบบการให้คะแนน โดยถ้าใครที่ตอบคำถามได้ดีจนเจ้าของคำถามอ่านแล้วพอใจกับคำตอบ เจ้าของคำถามจะเลือกคำตอบนั้นเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ผู้ตอบคำถามก็จะได้รับคะแนนที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง หรือถ้าคุณเขียนบทความลง Google คุณจะได้ทั้งชื่อเสียงเพราะรูปและประวัติย่อของคุณจะถูกเผยแพร่ไปพร้อมกับบทความด้วย 

คนทำงานที่มีภูมิรู้ Knowledge Worker 

คนทำงานที่มีภูมิรู้ " Knowledge Worker " ในการบริหารทุนมนุษย์ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในความหมายของคำว่า "คนทำงานที่มีภูมิรู้ ซึ่ง ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เป็นบุคคลแรกที่พูดถึงเรื่องนี้ 
และในวาระที่ครบอายุ 84 ปี ( เกิด 19 พย. 1909 ) ได้ให้สัมภาษณ์ นิตยสาร Fortune ฉบับ มค. 47 ( Jan 2004 ) ลองหามาอ่านดูได้ครับสรุปย่อ ๆ คือ คนที่สามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมักจะเป็นองค์กรที่เป็นด้านวิทยาศาสตร์ องค์กรที่มีคนคิดนวัตกรรมเยอะ ๆๆ ( ไม่ใช่คิดสร้างสรรค์นะครับ -คนละเรื่องเดียวกัน) องค์กรที่พนักงานกำหนดได้ว่าตนเองจะรับผิดชอบและทำงานอะไรที่มีคุณค่ากับองค์กร

การบริหารจัดการ Knowledge workers   จึงเป็นเรื่องที่ยากเพราะผู้บริหารมักยึดติดกับการสั่งการและการควบคุม (Direct & Control)   ในขณะที่การทำงานร่วมกับ Knowledge workers   ผู้บริหารจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ร่วม จริงใจ  และสร้างให้มีความรู้สึกร่วมกันในทีมในการสร้างชื่อเสียงร่วมกัน ซึ่งนับเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ต้องการทั้งสติปัญญา ความรู้ความสามารถในงาน  ความเข้าใจกันโดยเฉพาะความเข้าใจความต้องการพื้นฐานของมนุษย์  และความสามารถในการครองใจผู้ร่วมงานซึ่งต้องใช้ทักษะในการบริหารคน (Human Skill) โดยเฉพาะความสามารถในการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน  ซี่งนับว่าเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของผู้บริหารยุคใหม่อย่างมาก

4.Leverage of knowledge asset

Knowledge asset  คือ ความรู้ที่สร้างขึ้นมาได้จาก SECI  ( SECI คือกระบวนการสร้างความรู้ )
Knowledge asset  แบ่งเป็น 
1.Experimental - ความรู้แบบ tacit ที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน และสายสัมพันธ์ระหว่าง
พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ฯลฯ ได้แก่: ทักษะในการทำงานของแต่ละคนความรักในการทำงาน
2.Conceptual ความรู้แบบ explicit ที่แสดงออกผ่านภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ และภาษา ได้แก่:
ผลิตภัณฑ์ดีไซน์แบรนด์
3.Routine - ความรู้แบบ tacit ที่วนๆ เป็นรูทีนอยู่ในองค์กร เช่น ทักษะในการทำงานของทีม วิธีหรือขั้น
ตอนการทำงานในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร
4.systemic - ความรู้ explicit ที่จัดทำเป็นแพกเกจ เช่น เอกสาร คู่มือ สเปก database 
สิทธิบัตร


credit : 
http://gotoknow.org/blog/hrd2/89336 ,
        http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dnt&month=23-01-2008&group=34&gblog=17,
 http://202.28.24.117/newwebsite/show_news.phpsubaction=showfull&id=1188812655&archive=&template=Pae1, และ http://gotoknow.org/blog/pornpet/27244

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น